0

ทัศนศึกษาสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


ทัศนศึกษาสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

                                                                                                 24 พฤศจิกายน 2555

            วันนี้ในคาบเรียนเทคโนโลยีการศึกษาได้ทัศนศึกษาที่สถาบันทางทะเล จ.ชลบุรี  ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ติดกับมหาวิทยาลัยที่เราเรียนอยู่ นั่นก็คือมหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี  โดยเรามีพี่วิทยากรชื่อ พี่จิระศักดิ์ แช่มชื่น หรือ "พี่จิ" ให้ความรู้ตลอดการเยี่ยมชม ซึ่งการทัศนศึกษาครั้งนี้เข้าชมฟรีเพราะเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา
         สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้บริการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่บุคคลทั่วไปหลักๆ แบ่งเป็น 2 ภาค คือ ชั้นล่างเป็นสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล       
          เมื่อเข้าไปด้านใน พี่จิอธิบายให้ฟังว่าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบ เพราะเป็นสถานที่ให้ความรู้ และมีสื่อการเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ หลายรูปแบบที่นำมาสร้างเป็นสื่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะสัตว์ทะเลต่างๆ นั้นมีทั้งรูปจำลองและของจริงแสดงให้ชม ซึ่งทำให้ผู้เข้าชมสามารถศึกษาความรู้ได้ด้วยตนเอง 
          "ภาคที่ 1" สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มที่ชั้นล่างนี้จะเป็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในเขตน่านน้ำไทย

โดยจะอาศัยอยู่ในตู้กระจกซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญบอกไว้หน้าตู้ แต่ละตู้จะจัดสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่ได้
         



           พี่จิเล่าให้ฟังว่าน้ำที่ใช้เลี้ยงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นน้ำทะเลจริงๆ  แต่เป็นน้ำทะเลที่มาจาก
สัตหีบไม่ได้มาจากบางแสน เพราะว่าน้ำทะเลในบางแสนเค็มน้อยไป
-ปลาเสือพ่นน้ำจะพ่นน้ำยิงแมลงกินเป็นอาหาร
-ปลาแมงป่องหัวโขนมีลักษณะคล้ายปะการัง
           พี่จิเล่าให้ฟังว่าการเตรียมตู้ปลาจะนำหอยลักษณะเล็กๆ อย่างหอยแครง หอยนางรมมาบดแล้วปั้นเป็นหินรูปทรงต่างๆ
           ตู้ปลาการ์ตูนที่นี่ติดอันดับ 3  ในโครงการ 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2549 ซึ่งในตู้นี้จะเห็นว่ามีปลาการ์ตูนหลายสี โดยอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งมีขาเดินได้และมีพิษอันตรายเว้นในปลาการ์ตูนที่มีกลไกป้องกันพิษนี้
           ปลาเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่กินได้ มีราคา และกลุ่มปลาสวยงามซึ่งปัจจุบันนำปลาเลี้ยงมาเป็นปลาเศรษฐกิจ
-ปลาสิงโตเป็นปลาที่เลี้ยงเพื่อความสวยงาม
-การสังเกตปลาดุกทะเลจะมีครีบบน หางเรียวยาว
            ปลาฉลาม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
            1.) กลุ่มฉลามหน้าน้ำ ปากกว้าง และอยู่นิ่งไม่ได้เพระาหายใจทางเหงือก
            2.) กลุ่มปลาฉลามหน้าดิน จะอยู่นิ่งๆที่พื้นน้ำ ไม่ดุร้ายเท่ากลุ่มแรก   
            ไข่ปลาฉลามกบตัวปลาจะอยู่ในถุงไข่แดง 4 เดือนแล้วฟักตัวเองออกมา ซึ่งพ่อแม่จะจำลูกไม่ได้

         ปลารูปร่างแปลก และมีพิษ เช่น ปลาไหลทะเลจะมีฟันที่คมและจะซุ่มกินเหยื่อ ปลาแมงป่องคล้ายก้อนหินมีฟันแหลมคม ปลาปักเป้าตัวผู้จะมีหน้าท้อง
-หอยงวงช้างเป็นสิ่งมีชีวิตที่เชื่อว่ามีมามากกว่า 500 ล้านปีแล้ว โดยจัดเป็นหอยฝาเดียวโบราณ


-ปะการังที่นี่เป็นที่เดียวที่จัดของจริงแสดง ในหนึ่งปีปะการังจะยาวงอกมาเพียง 1 เซนติเมตร โดยแสงจากหลอดไฟที่ใช้ในตู้ที่มีปะการังจริงเป็นแสงที่เลียนแบบธรรมชาติซึ่งทำให้ปะการังเติบโตได้
           มีการจัดแสดงห้องสื่อเที่ยวทะเลอย่างไรให้ปลอดภัย
-1 ใน 10 สัตว์ทะเลอันตราย คือ หมึกสาย
-ปลาหมึกวงแหวนน้ำเงิน หากโดนพิษตายได้ใน 2  
  ชั่วโมง
-วิธีแก้พิษเบื้องต้นของแมงกะพรุน คือ ใช้ทรายถู
  ส่วนรยางค์รอบเข็มพิษของแมงกะพรุนก่อนแล้ว
  นำน้ำส้มสายชูล้างบริเวณนั้น จะทำให้คลายปวด
  ลงได้
-ราชินีแห่งท้องทะเล คือ ทากทะเล
-ราชาแห่งท้องทะเล คือ ฉลาม
         


          เวลาบ่ายสองโมงมีการให้อาหารปลาของนักดำน้ำ ซึ่งโชคดีที่เราไปทัศนศึกษาช่วงบ่าย ทำให้เราได้ดูและได้ความรู้จากประสบการณ์จริงตรงหน้า

           
             


        "ภาคที่ 2" เป็นพิพิธภัณฑ์ทางทะเล ซึ่งเป็นส่วนที่จัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ   โดยมีการจัดแสดงความรู้ซึ่งประกอบด้วยแผ่นข้อมูล ภาพที่เป็นบอร์ดให้ความรู้ระบบนิเวศน์ในทะเล พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย การจำแนกประเภทสัตว์ทั้งสัตว์กระดูกแข็ง กระดูกอ่อน วิวัฒนาการสัตว์ และตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ทำการเก็บรักษาด้วยวิธีต่างๆ เช่น ดองด้วย
น้ำยาฟอร์มาลิน สตั๊ฟแห้ง
ด้านบนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

          ส่วนแรก
จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง

       

         ส่วนที่สอง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์





   

        นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล
อย่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น เต่าทะเล


  
                
          


  ห้องพิพิธภัณ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย




         สถาบันวิทยาศาสตร์ท้องทะเล จัดว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทอาคารสถานที่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีแหล่งการเรียนรู้ภายในบุคคลที่ชัดเจน คือ พี่วิทยากร คือ พี่จิรศักดิ์ แช่มชื่น และมีกิจกรรมที่จัดให้ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งที่นี่ให้ความรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์มากในเรื่องของทะเล
         หากไปเที่ยวทะเลเมื่อไหร่  ..ความรู้ที่ได้ในวันนี้จะต้องมีโอกาสได้ใช้
แน่นอนว่า  ^___^ 




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Blogger templates

About

Powered By Blogger

My Blogger

blogger
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Followers

ค้นหาบล็อกนี้

Popular Posts

Back to Top