0

แบบฝึกหัด:สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา




สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา



แบบฝึกหัด


   1.) สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
   
6 ประเภท คือ ( ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2525 : 270 )
  สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
  ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
  วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
  วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
  สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
  สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว

   2.) คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด
       ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษาเหตุผลหรือความจำเป็นด้านต่างๆ ในการใช้สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้
   -การเพิ่มของประชากร ในระบบโรงเรียน สื่อมวลชนนั้นสามารถกระจายความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้ฟังได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน หากสามารถคิดค้นหาวิธีการ ที่จะนำสื่อมวลชนต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ย่อมจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
   -แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบัน ถือว่า การศึกษาของคน มิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น แต่จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่คนมีชีวิตอยู่ ซึ่งเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต
   -การขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญ ในการเรียนการสอน ครูผู้สอนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จ การเรียนการสอนสาขาวิชาการต่างๆ ในปัจจุบัน มีหลายสาขาวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญการสอน สื่อมวลชน เปิดโอกาสให้นำรายการสอนจากผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไปสู้ห้องเรียนตลอดจนถึงชุมชนบ้านเรือนได้อย่างกว้างขวาง
   -ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ การสอนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทสื่อโสตทัศนศึกษา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิบัติการต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งในสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้อยู่มาก
   -การกระจายของประชากร ความจำเป็นในการรับทราบข่าวสาร และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ย่อมจะต้องมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การจัดการศึกษาให้ในรูปแบบอื่นอาจทำได้ยาก แต่หากจัดการศึกษาให้ได้รับทางสื่อสารมวลชนย่อมสามารถทำได้เสมอ
   -การเปลี่ยนแปลงของสังคมและข่าวสาร สถานการณ์ของสังคมและข่าวสารต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะถูกรายงานให้ประชาชนทราบอยู่ตลอดเวลาโดยสื่อมวลชนต่างๆ การศึกษาทางด้านสังคมจึงสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนได้โดยตรง
   -ความก้าวหน้าของสื่อมวลชน ความต้องการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสาร และการศึกษาค้นคว้าทางด้านการสื่อสารมวลชน ทำให้สถานภาพการสื่อสารมวลชนปัจจุบันได้รับการพัฒนาขึ้นหลายด้าน เช่น
      ด้านปริมาณ มีสื่อมวลชนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก นำเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
      เนื้อหาสาระ หรือรายการที่เป็นประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและด้านการศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
      คุณภาพของสื่อ ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก เช่น สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีคุณภาพดีขึ้น ตัวหนังสือ ภาพประกอบ สี มีความสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน วิทยุโทรทัศน์ ได้รับการปรับให้เสียงและภาพชัดเจนขึ้น
      เทคนิคการนำเสนอ ได้แก่ การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบของรายการโทรทัศน์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ มีรายการแปลกๆ ใหม่ๆ ใช้เทคนิคการตัดต่อภาพหรือเสียง และเทคนิคพิเศษน่าสนใจ และก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น
      การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาให้คนมีความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ และเจตคติ
   โดยมีรูปแบบของการศึกษา 3 รูปแบบ คือ
   -การศึกษาในระบบ
   -การศึกษานอกระบบ
   -และการศึกษาปกติวิสัย
       แนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาตลอดชีวิต สื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษามากขึ้น เนื่องจากประชาชนจะต้องรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำตลอดชีวิต ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ เช่น การเพิ่มของประชากร การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ และผู้สอนที่เชี่ยวชาญ การกระจายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของสังคม และความเจริญก้าวหน้าของกิจการสื่อสารมวลชนเอง ทำให้สื่อมวลชน มีบทบาทต่อการศึกษาของประชาชนมากขึ้น ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามปกติวิสัย แต่การใช้สื่อมวลชนให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา ยังไม่ได้รับการดำเนินการอย่างจริงจัง

   3.)  ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ 
   
การใช้โทรทัศน์ในการสอน ใช้เป็นสื่อในการศึกษาระบบเปิดโดยการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนให้แก่ผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน เพื่อสอนแก่ผู้เรียนที่อยู่ในห้องเรียนต่างๆ ในมหาวิทยาลัยก็ได้ ใช้เพื่อเสริมความรู้เป็นการใช้รายการโทรทัศน์เพื่อเสริมความรู้จากเนื้อหา บทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากที่เรียนในห้องเรียน ใช้เป็นสื่อสอนแทนครูกรณีที่ขาดแคลนครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวิชา อาจใช้โทรทัศน์เพื่อออกอากาศการสอนของครูจากห้องส่งไปยังห้องเรียนเป็นการสอนโดยตรงในแต่ละวิชา






แบบฝึกหัด:โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา




โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา
แบบฝึกหัด
1.) โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
    หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียง โดยใช้กระบวนการที่หลากหลายไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
ประโยชน์ของโทรคมนาคมทางการศีกษา
- ช่วยติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วยจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน
- ช่วยเก็บสารนิเทศในรูปที่เรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าได้อย่างสะดวก
- เพื่อประสิทธิภาพในการผลิตสารนิทศ
- ลดอุปสรรคเกียวกับระยะเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


2.) การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
   facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาเพราะสามารถเกิดการเรียนรู้เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้ศึกษาได้เช่นกัน นับได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเพราะ Facebook ก็เป็นเส้นทางที่ให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education)
   ยกตัวอย่างประโยชน์ :
     
       1. FaceBook
จะเป็นการสร้างเครือข่ายและจุดประกายด้านการศึกษาได้อย่างกว้างขวาง หากใช้ได้อย่างถูกวิธี ซึ่งปัจจุบันมีการนำเครือข่ายนี้มาใช้ใรการศึกษาอย่างแพร่หลายแล้วในหลายๆ รายวิชา ซึ่งนับเป็นห้องประชุมทางไกลระหว่างกลุ่มนิสิตและอาจารย์
       2. ทำให้ไม่ตกข่าว ทราบความคืบหน้า เหตุการณ์ของบุคคลต่างๆและผู้ที่ใกล้ชิด      
       3. ผู้ใช้สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคม หรือผู้ที่มีเป้าหมายเหมือนกันและทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้      
       4. FaceBook เป็นซอฟแวร์ที่เอื้อต่อผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัวทางสังคม ขาดเพื่อน อยู่โดดเดี่ยว หรือผู้ที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ให้มีเครือข่ายทางสังคม และเติมเต็มชีวิตทางสังคมได้อย่างดี และปรับตัวได้ง่ายขึ้น     

3.) นิสิตรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง
    
ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
   ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือนกับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
    สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (
Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคาสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
4.) ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
    ทำให้การศึกษาเปิดกว้างมากขึ้น สามารถศึกษาได้ทุกที่ซึ่งไม่ใช่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป และการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมโดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทำให้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็นวัยใดก็สามารถค้นคว้าความรู้ได้ตลอดเวลาและไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา นับได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อทุกเพศทุกวัยและสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

5.) นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
 
   การส่งสัญญาดาวเทียมไทยคมจากโรงเรียนวังไกลกังวล (หัวหิน) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปยังทุกโรงเรียนทั่วประเทศเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริด้านการศึกษาเพื่อให้การศึกษามีคุณภาพทันเทียมกันทั้งประเทศ รวมทั้งแก้ปัญหาครูขาดแคลน ส่งสัญญาณเผยภาพครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกรียติจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาผ่านดาวเทียม นอกจาเป็นการถ่ายทอดหลักสูตรสามัญ ยังถ่ายทอดหลักสูตรวิชาชีพ หลักสูตรอุดมศึกษา รวมทั้งรายการสารประโยชน์ และยังมีโรงเรียนในประเทศเพื่อนบ้าน  พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ที่ได้รับพระราชอุปกรณ์การสื่อสารผ่านดาวเทียม และได้รับพระราชทานชื่อรายการว่า ศึกษาทัศน์ โดยในวันที่ 6 ตุลาคม 2544พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้สอนเรื่องดินและ30 ตุลาคมปีเดียวกันสอนในเรื่องฝนหลวงในรายการศึกษาทัศน์ อีกด้วย

6.) ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog

0

แบบฝึกหัด:จิตวิทยาสีกับการออกแบบสื่อการสอน



จิตวิทยาสีกับการออกแบบสื่อการสอน

กิจกรรมหลังหน่วยการเรียนรู้ ทำลงใน Weblog
1.) ถ้าต้องการออกแบบและน้าเสนอ PowerPoint ถึงเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ ควรใช้ใดในการออกแบบเพราะเหตุใดจงอธิบาย
   
เลือกใช้ชุดสีที่มีรูปแบบอย่างง่าย คือ ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน ประกอบไปด้วย 2 หรือ 3 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี โดยโทนสีที่ใช้ควรเป็นสีน้ำตาลเพราะให้ความรู้สึกเก่าแก่ โบราณ ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องราวด้านวัฒนธรรม ชุมชนโบราณ

2.) ให้นิสิตหาภาพถ่ายหรือภาพวาดจาก
Google Search ที่ใช้สีตัดกันมา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
   ภาพนี้ใช้สีคู่ตรงข้ามและเป็นสีที่ตัดกันโดยน้ำหนัก ซึ่งมีการทำให้สีของพื้นหลัง คือ สีเขียวหม่นลง ทำให้ปลาในภาพมีความโดดเด่นและให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา มีพลังการเคลื่อนไหวและเร้าความสนใจได้ดี


   ภาพดอกไม้นี้ได้นำทฤษฎีสีตัดกันมาใช้ คือ สีแดงและเขียว โดยเป็นสีตรงข้ามกันในวงล้อสี ซึ่งพลังที่ขัดแย้งกันทำให้เกิดความโดดเด่นของโทนสีที่ขับแข่งกัน ความจัดจ้านของสีในภาพทำให้รู้สึกถึงความสดใส และมีความน่าสนใจในตัวของมันเอง


3.) ให้นิสิตหาตัวอย่างภาพจาก Google Search ในลักษณะการสร้างความกลมกลืนโดยใช้สีในลักษณะสภาพสีส่วนรวม(TONALITY OF COLOR) มา 2 ภาพพร้อมอธิบายการสื่อความหมายของภาพ
  ภาพนี้เป็นการใช้สีกลุ่มกลมกลืนกัน เกิดจากการส่งเสริมกันระหว่างสีของพื้นกับสีของส่วนเด่น โดยให้สีของส่วนเด่นปรากฏเด่นชัดขึ้นหรือเปล่งพลังของสีออกมาอย่างเต็มที่คล้ายกับการเขียนสีแท้ท่ามกลางสีหม่น ซึ่งมีสีอื่นมาปนบ้างแต่ไม่มากนักทำให้ภาพดูไม่จืดชืด เป็นการใช้สีส่งเสริมให้เกิดพลังสีเด่นนี้โดยเห็นได้ว่าภาพแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนพื้นและส่วนเด่นหรือจุดสนใจ โดยรวมแล้วให้ความรู้สึกนุ่มนวล รู้ถึงการเคลื่อนไหวของโคมไฟและสัมผัสได้ถึงความวิจิตรงดงามของภาพ
   ภาพนี้เป็นการใช้สีกลุ่มกลมกลืนกันซึ่งเป็นโทนชุดสีร้อน มีสีอื่นปนมาบ้างทำให้ภาพไม่น่าเบื่อหรือจืดชืด เป็นภาพที่มีสิ่งดึงดูดความสนใจและเห็นถึงช่วงเวลาของแสงอาทิตย์เพราะการใช้สีที่ต่างไปจากสีหลัก เป็นภาพที่ดูแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ความไม่วุ่นวายและสบายตา
0

แบบฝึกหัด:จิตวิทยากราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน



จิตวิทยาด้านกราฟิกกับการออกแบบสื่อการสอน


แบบฝึกหัด
1. เทคนิคการกลับพื้นภาพมีผลต่อสายตาผู้ดูอย่างไร
   
จากการออกแบบกลับพื้นภาพทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานเป็นสัญลักษณ์ (Logo) และเป็นที่นิยม เพราะมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีผลของการมองเห็นว่าภาพสีขาวที่อยู่ในพื้นสีดำจะทำให้ดูโตขึ้น 10-15 % สังเกตภาพตัวอักษร A ในข้อที่ 6 ตัวอักษรดาและขาวโตเท่ากันในการทำต้นแบบ เมื่อตัว A อีกตัวหนึ่งไปอยู่ในพื้นดำทำให้ดูโตกว่า
 
เทคนิคนี้นิยมนาไปใช้ทำตัวอักษรพาดหัวข่าวสำคัญในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ จิตวิทยากับการออกแบบสื่อสร้างสรรค์
   

2. ให้นิสิตหาภาพความลึก (Perspective) พร้อมอธิบายความหมายของภาพ
   จากภาพเป็นภาพที่ดูสมจริง คือ ภาพต้นไม้หรือถนนที่อยู่ใกล้จะมีขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับจนสุดสายตา โดยมีมุมมองหลักๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตา วัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา


3. ให้นิสิตหาภาพความขัดแย้ง (Contrast) พร้อมอธิบายความหมายภาพ

   จากภาพทำให้เห็นความน่าสนใจ ชวนมอง ลดความราบเรียบ เนื่องจากมีการจัดองค์ประกอบภาพที่ดึงดูดความน่าสนใจได้เป็นอย่างดี โดยใช้สีโทนทึบลงเป็นหลักและดึงความน่าสนใจที่นักเบสบอล ซึ่งมีการใช้สีสันที่แตกต่างออกไปจากสีหลัก




0

แบบฝึกหัด:การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้



การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้


แบบฝึกหัด
1.)  ให้นิสิตบอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ต่อการเรียนระดับปริญญาตรีสาขาศึกษาศาสตร์
        - สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำคัญต่อการเรียนระดับปริญญาตรี สาขาศึกษาศาสตร์ โดยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะสนับสนุนให้ผู้เรียนรู้สึกอยากเรียนและเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งสาขาศึกษาศาสตร์เป็นสาขาที่เรียนเพื่อจะเป็นครูในอนาคต หากในขณะที่เรียนนิสิตมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาสม จะเป็นการปลูกฝังสิ่งดีงามและในขณะเดียวกันก็ได้รับความรู้ที่มีประสิทธิภาพเพราะเกิดจากความรู้สึกที่เต็มไปด้วยทัศนคติด้านบวก ทำให้นิสิตกลายเป็นบุคคลที่มีพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรมซึ่งจะกลายเป็นครูที่ดีต่อไปในอนาคตและจะสร้างลูกศิษย์ที่ดี ความสำคัญของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีหลายประการได้แก่
               
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน
                 
เช่น ห้องเรียนมีความสะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความสุขในการเรียนการสอน ซึ่งช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยความราบรื่น สะดวก รวดเร็ว ตามแผนที่วางไว้
                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน
                ซึ่งปัจจัยสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน คือ ความรู้สึกที่เกิดจากตัวผู้เรียน ทั้งความรู้สึกพอใจ สนใจ อยากเรียน อยากรู้นั้นจะเป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด ดังนั้นถ้าผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านกายภาพ จิตภาพ และทางด้านสังคมภาพ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกดังกล่าวได้
                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน                     โดยทั่วไปการรับรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดขึ้นหลังได้ปะทะสัมพันธ์กับสิ่งภายนอกที่มากระตุ้นประสาทสัมผัสของผู้เรียน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ ดังนั้นหากต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีต้องจัดให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีก่อน แล้วสภาพแวดล้อมต่างๆ เหล่านั้นจะเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ของผู้เรียนภายหลัง
                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน
                จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาส่วนหนึ่งคือ มุ่งให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพดี แสดงออกทางกาย วาจาและใจตามแบบอย่างที่สังคมยอมรับ คือดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยยึดถือคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร เป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นกันและกัน ตัดสินปัญหาด้วยเหตุผล ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยปรับหรือโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้เรียน โดยจะค่อยๆ ซึมเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียนจนในที่สุดก็แสดงออกในลักษณะของบุคลิกภาพรูปแบบในการรับรู้ ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ ของผู้เรียน

                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยควบคุมชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้กำหนดอาณาเขตของการเรียน                
                 ทำให้มีบรรยากาศที่ต่างไปจากกิจกรรมอื่น สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่จัดไว้อย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนสำรวมอยู่ในระเบียบวินัยมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ของนักเรียนอย่างมีวัตถุประสงค์ จะช่วยให้การควบคุมชั้นเรียนมีระบบระเบียบ และง่ายสาหรับผู้สอนมากขึ้น

                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ได้หลากหลาย                   
                ปัจจุบันเห็นความสำคัญของมุมวิชาการ ศูนย์วิชาการ มุมสื่อการเรียนการสอน ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนใช้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบยึดเด็กเป็นศูนย์กลางได้อย่างดี ช่วยพัฒนาความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนตลอดจนเป็นการสร้างนิสัยให้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ไม่ยึดติดอยู่เฉพาะความรู้ที่ได้จากผู้สอน

                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียน
                ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสะดวกสบาย สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน ช่วยสร้างบรรยากาศทางวิชาการให้เกิดขึ้นทำให้ผู้เรียนกระตือรือร้นศึกษาหาความรู้หรือทำกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ อย่างตั้งใจและมีสมาธิ

                สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
                 และผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คาปรึกษา แนะแนวทางสภาพแวดล้อมเช่นนี้ช่วยให้ผู้สอนมีความใกล้ชิดกับผู้เรียนมากขึ้น ทำให้ได้รู้จักอุปนิสัย ตลอดจนพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดี ผู้เรียนจะลดความกลัว และกล้ามาก มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอน

2.) “การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวโยกย้าย ทำให้ผู้สอนไปถึงตัวผู้เรียนได้สะดวก ตำแหน่งของผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าชั้นเสมอไป ผู้สอนอาจนั่งอยู่ท่ามกลางผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาจัดอยู่ในองค์ประกอบใดของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เพราะเหตุใด
                - จัดอยู่ในองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2 ด้าน คือ
                      -
 องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน เป็นสภาพแวดล้อมในห้องเรียนประกอบด้วย การจัดห้องเรียน สื่อการสอน
                      - องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพที่เป็นบุคคล เนื่องจากบุคลิกภาพของครูมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของนักเรียนทั้งในทางบวกและทางลบ
3.) ให้นิสิตยกตัวอย่างการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ รายวิชา 400202 เทคโนโลยีการศึกษา ตามองค์ประกอบของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
                - 3.1) องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ                            
                   จะต้องมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ห้องเรียนมีความสะดวกสบาย มีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนครบถ้วน  เป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน
ซึ่งสภาพแวดล้อมทางการเรียนในห้องเรียนประกอบด้วย ห้องเรียนและอุปกรณ์ การจัดห้องเรียน สี เสียง แสงสว่าง สื่อการสอน และอุณหภูมิและการระบายอากาศห้องเรียนและอุปกรณ์ ได้แก่ พื้นห้อง ผนังห้อง ประตู หน้าต่าง ขนาดและพื้นที่ว่างภายในห้องเรียน โต๊ะ เก้าอี้ กระดานดำ อุปกรณ์ตกแต่งห้องเรียน เช่น แจกันดอกไม้ ภาพวาด เป็นต้น
                3.2)
องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ                        
                จะต้องมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน โดยทำให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจ เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียนสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนเปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดี มีความพึงพอใจในการเรียนช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                3.3) องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม                        
                จะต้องมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน  บรรยากาศที่อบอุ่นเป็นมิตร มีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ตัดสินปัญหาด้วยเหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน สะสมทีละน้อยจนในที่สุดก็จะแสดงออกในลักษณะของบุคลิกภาพรูปแบบในการรับรู้ ตลอดจนค่านิยมต่าง ๆ ของผู้เรียน  โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมในห้องเรียนผู้ที่มีอิทธิพลต่อการออกกฏระเบียบก็คือผู้สอน หากเชื่อผู้เรียนเป็นคนขยันมีความรับผิดชอบ การกำหนดกฎระเบียบจะมีลักษณะให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวก และให้เสรีภาพ มีความเป็นประชาธิปไตย กฎระเบียบในลักษณะนี้ความสัมพันธ์จะเป็นมิตร มีความเป็นกันเอง มีความร่วมมือกัน ฟังความคิดเห็นกันและกัน เป็นต้น

                3.4)
องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี                        
                จะต้องมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ได้หลากหลายจัดมุมสื่อการเรียนการสอนที่มีสื่อต่างๆ ที่เป็นความรู้ซึ่งรวมไปถึงคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ยึดติดอยู่เฉพาะความรู้ที่ได้จากผู้สอน    เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น เทคโนโลยีจึงเป็นมิติหนึ่งในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้

4.)  ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้ออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ นิสิตจะจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบ 4 ด้านอย่างไร จงอธิบาย
                - 4.1) องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านกายภาพ  จัดห้องเรียนให้มีแสงสว่างเพียงพอ มีบอร์ดอยู่มุมห้องที่ให้ความรู้ที่ควรรู้ของการปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องมีการระบายและถ่ายเทอากาศได้ดี
มีอุปกรณ์การทดลองเพียงพอและครบถ้วนต่อจำนวนนิสิต
                  4.2) องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านจิตภาพ ครูยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ตีสีหน้าเคร่งเครียดที่ทำให้นิสิตรู้สึกกดดัน และไม่กล้าถามเมื่อเกิดความสงสัย สร้างบรรยากาศในห้องที่ทำให้นิสิตสนุกที่จะทดลอง เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล สอนสิ่งที่ถูกเมื่อนิสิตทำผิดแทนการกล่าวว่ารุนแรง            
                 4.3) องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการเรียนด้านสังคม ครูผู้สอนสร้างกฎระเบียบที่
ป้องกันการเกิดอันตรายจากสารเคมีและในขณะเดียวกันเพื่อให้นิสิตสนใจในการทดลอง ซึ่งในที่นี้จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนิสิตเพื่อให้นิสิตกล้าตอบกล้าแสดงความคิดเห็นที่ทำให้เรารู้ถึงความรู้ความเข้าใจของนิสิตว่ามีหรือถูกต้องมากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนที่เหมาะสม
                 
4.4) องค์ประกอบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี มีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีทางการทดลองที่สามารถให้นิสิตได้ฝึกฝนทักษะ หรือหาความรู้ในวิชาด้วยตนเองเมื่อเกิดความสงสัย อยากรู้อยากทดลอง ซึ่งจะทำให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกเหนือจากที่ครูสอน

5.)  แนวคิดเชิงทฤษฎีในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
             
- ประการที่หนึ่ง ได้แก่ แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา
                ปรัชญาการศึกษาจะเป็นสิ่งบ่งชี้นโยบายในการจัดการศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องดำเนินไปให้สอดคล้องกับนโยบายนั้นๆ
                ประการที่สอง เแนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา  ได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม ตลอดจนจิตวิทยาในการทางานหลักการต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยานี้จะช่วยให้เข้าใจพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย การเรียนรู้การรับรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร สภาพแวดล้อมที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้ได้ดีควรเป็นอย่างไร
                ประการที่สาม แนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร เนื่องจากการเรียนการสอนนั้นเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารหรือเป็นการสื่อความหมายระหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอนหลักการต่างๆ ของการสื่อสารจะช่วยในการตัดสินใจเลือกสื่อหรือจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่นหลักการที่ว่าการสื่อความหมายจะได้ผลดีต่อเมื่อผู้รับเกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ส่ง ดังนั้นผู้สอนควรทำอย่างไร จะใช้สื่อชนิดใด หรือจัดสถานการณ์อย่างไรจึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ในที่สุดแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัด สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
                ประการที่สี่ เป็นแนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแนวคิดเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่อาศัยสื่อประเภทวัสดุอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังอาศัยเทคนิควิธีการตลอดจนแนวคิดต่างๆ เพื่อมาปรุงแต่งสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เป็นที่ น่าสนใจ หรือเร้าความสนใจของผู้เรียน
                ประการที่ห้า แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน G.F. McVey   แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เออร์โกโนมิกส์และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้มาเป็นเวลานานเพื่อค้นหาคำตอบว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพลักษณะใดจึงจะเหมาะกับผู้เรียนในแต่ละระดับ เช่น ความกว้าง ความสูง ของโต๊ะ เก้าอี้ ขนาดของห้องเรียน ขนาดของห้องฉายการติดตั้งจอ ระบบเสียงในห้องเรียน ห้องฉาย สภาพแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ เหล่านี้ควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะเอื้ออำนวยความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและการเรียนรู้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน

Blogger templates

About

Powered By Blogger

My Blogger

blogger
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Popular Posts

Followers

ค้นหาบล็อกนี้

Popular Posts

Back to Top